วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษา


โครงสร้างโปรแกรมภาษาต่อไปนี้
1.โครงสร้างของภาษา Pascal

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
โปรแกรมในภาษาปาสคาล แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
          1. ส่วนหัว (Heading) เป็นการประกาศชื่อของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วยคำว่า PROGRAM ตามด้วยชื่อของโปรแกรม และจบบรรทัดด้วย ;
รูปแบบ

PROGRAM ชื่อโปรแกรม (รายชื่ออุปกรณ์);
ตัวอย่าง
PROGRAM EXAM1;
PROGRAM EXAM1(INPUT,OUTPUT);

ข้อสังเกต ชื่ออุปกรณ์ คือ INPUT, OUTPUT หรือชื่อของไฟล์ที่เกี่ยวข้องภายในโปรแกรมถ้าไม่ระบุจะถือว่า INPUT เข้าทาง keyboard และ OUTPUT ออกทางจอภาพ
          2. ส่วนข้อกำหนด (Declaration part) คือส่วนตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงคำว่า BEGIN ของโปรแกรมหลัก และเป็นส่วนที่เรากำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้
2.1 VAR เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลให้แก่ตัวแปร
รูปแบบ
VAR รายชื่อตัวแปร : ประเภทของข้อมูล;
   ตัวอย่าง
VAR I,J,K : INTEGER;
NAME : STRING;
SALARY : REAL;
2.2 TYPE เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลขึ้นใหม่
รูปแบบ
TYPE ชื่อของแบบ = ประเภทหรือค่าของข้อมูล;
   ตัวอย่าง
TYPE SCORE = INTEGER;
WEEK = (MON, TUE, WED, THU, FRI);
VAR TEST, MIDTERM, FINAL : SCORE;
DAY : WEEK;

จากตัวอย่างต้องประกาศชื่อแบบของตัวแปรก่อนแล้วจึงประกาศชื่อตัวแปรที่เป็นแบบ
2.3 CONST เป็นการกำหนดค่าคงที่ 
รูปแบบที่ 1
CONST รายชื่อค่าคงที่ = ค่าที่กำหนด;
รูปแบบที่ 2
CONST รายชื่อค่าคงที่ : ประเภทของข้อมูล = ค่าที่กำหนด;
ตัวอย่าง
CONST HEAD = ‘EXAMINATION’;
CONST A = 15;
CONST SALARY : REAL = 8000.00;
2.4 LABEL ใช้คู่กับคำสั่ง GOTO ภายในโปรแกรม
รูปแบบ
LABEL รายชื่อของ LABEL;
   ตัวอย่าง
LABEL 256,XXX;
เช่น GOTO 256; GOTO XXX;
          3. ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.”
   ตัวอย่าง
BEGIN
Statement หรือคำสั่งต่าง ๆ ;
END.


2.โครงสร้างโปรแกรมภาษา C


โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซีแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
          1. ส่วนหัวของโปรแกรม  ส่วนหัวของโปรแกรมนี้เรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้คอมไพเลอร์กระทำการ ใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรม ในที่นี่คำสั่ง #include <stdio.h> ใช้บอกกับคอมไพเลอร์ให้นำเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ คือ stdio.h เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดยการกำหนด preprocessing directives นี้จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ
คำสั่งที่ใช้ระบุให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์เข้าร่วมในการแปลโปรแกรม สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
  - #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเรกทอรีที่ใช้สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ (ปกติคือไดเรกทอรีชื่อ include)
  - #include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟที่ระบุ จากไดเร็คทอรีเดียวกันกับไฟล์ source code นั้น แต้ถ้าไม่พบก็จะไปค้นหาไดเร็คทอรีที่ใช้เก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ
          2. ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก  ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ จะเห็นได้จากชื่อฟังก์ชั่นคือ main แปลว่า หลักดังนั้น การเขียนโปรแกรมภาษซีจึงขาดฟังก์ชั่นนี้ไปไม่ได้ โดยขอบเขตของฟังก์ชั่นจะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย { และ } กล่าวคือ การทำงานของฟังก์ชั่นจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชั่น main() สามารถเขียนในรูปแบบของ void main(void) ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายความว่า ฟังก์ชั่น main() จะไม่มีอาร์กิวเมนต์ (argument) คือไม่มีการรับค่าใด ๆ เข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชั่น และจะไม่มีการคืนค่าใด ๆ กลับออกไปจากฟังก์ชั่นด้วย
 3. ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม เป็นส่วนของการเขียนคำสั่ง เพื่อให้โปรแกรมทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้
3.Bassic
โดรงสร้างในการเขียนโปรแกรมด้วย Visual Basic การประกาศตัวแปร แบบ Implicit แบบ Explicit กฎการตั้งชื่อตัวแปรและค่าคงที่ การตั้งชื่อคอนโทรลและอ๊อบเจ็กต์ ตามคำแนะนำของไมโครซอฟท์ ชนิดของข้อมูล การใช้งานตัวแปรแบบใช้สัญลักษณ์พิเศษกำกับ ขอบเขตของตัวแปร ตัวแปรแบบ Local ตัวแปรแบบ Public การใช้งานตัวแปรร่วมระดับโพรซีเดอร์ การตั้งชื่อตัวแปรแบบบอกชนิดและขอบเขต ตัวแปรอาร์เรย์ แบบสแตติก แบบไดนามิก การสร้างตัวแปรอาร์เรย์มากกว่า 1 มิติ การใช้งานคอนโทรลอาร์เรย์ การสร้างชนิดของข้อมูลขึ้นใช้เอง การประกาศค่าคงที่ ตัวดำเนินการใน Visual Basic 6.0 ด้านคณิตศาสตร์ ด้านตรรกะ ด้านการเปรียบเทียบ ด้านเชื่อมข้อความ


4.โครงสร้างโปรแกรมภาษา Assembly

          โปรแกรม จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเลขไบนารี่ที่เรียกว่าภาษา Machine ซึ่งเป็นภาษาที่สามารถ ติดต่อให้คอมพิวเตอร์ เข้าใจได้ ภาษา Machine นี้จะจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นเลขฐานสิบหก (HEX) เช่น คำสั่ง 8 บิต 11101011B (B-ไบนารี่) เขียนได้เป็น 0EBH(H-ฐานสิบหก) แต่ก็เป็นการที่จะเข้าใจความหมาย ได้ยากในการใช้งาน การที่จะทำความเข้าใจภาษา Machine จะมีการใช้สัญลักษณ์ (Symbols) ที่เรียกว่า Mnemonics เพื่อแทนความหมายของคำสั่ง เช่น MOV A,#67H หมายความว่านำข้อมูลค่าคงที่ 67H ไปเก็บไว้ใน reg. A) โปรแกรมที่เขียนด้วยรหัส Mnemonics เรียกว่า ภาษา Assembly และก่อนที่จะให้ CPU ทำงานตามโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Assembly ได้ แต่ต้องเปลี่ยนให้เป็นภาษา Machine ก่อน โดยใช้ โปรแกรมแอสเซมเบลอ
5.โครงสร้างโปรแกรมภาษา Java
โครงสร้าง ภาษา Java (Java Structure)
1. เครื่องหมาย ในการควบคุม Structure
1.1 Comment คือข้อความที่แทรกเข้าไปในโปรแกรม แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม เช่นในกรณีที่เราต้องการอธิบาย Source code ไว้ใน โปรแกรม วิธีการคือ
- comment ทีละ บรรทัด ใช้เครื่องหมาย // ตามด้วยข้อความที่ต้องการ comment เช่น
//comment comment
- comment แบบครอบทั้งข้อความ ใช้เครื่องหมาย /* ข้อความที่ต้องการ comment */ เช่น
/*
Comment
Comment
*/
1.2 Keyword คือคำที่ถูกกำหนดไว้ใช้เองแล้วในภาษา Java ไม่สามารถนำมาใช้ในการตั้งชื่อภายใน โปรแกรมได้ ตัวอย่างเช่น class,boolean,char เป็นต้น
1.3 Identifiers คือชื่อที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมา เพื่อใช้แทนอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็น method ,ตัวแปร หรือ class ชื่อที่ถูกต้องควรประกอบด้วย ตัวอักษร ,ตัวเลข ,_,$ และจะต้องขึ้นต้นด้วย ตัวอักษรเท่านั้น
1.4 Separators คือ อักษร หรือ เครื่องหมายที่ใช้แบ่งแยกคำในภาษา มีดังต่อไปนี้
- เครื่องหมาย () ใช้สำหรับ
1. ต่อท้ายชื่อ method ไว้ให้ใส่ parameter
เช่น private void hello( );
2. ระบุเงื่อนไขของ if ,while,for ,do
เช่น if ( i=0 )
3. ระบุชื่อชนิดข้อมูลในการ ทำ casting
เช่น String a=( String )x;
- เครื่องหมาย{ }ใช้สำหรับ
กำหนดขอบเขตของ method แล class
เช่น class A{
}
Private void hello(){
} 
2. กำหนดค่าเริ่มต้นให้ กับตัวแปร Array
เช่น String a[]={"A","B","C"};

- เครื่องหมาย [ ] ใช้สำหรับ
1. กำหนดตัวแปรแบบ Array
เช่น String a[ ];
2. กำหนดค่า index ของตัวแปร array
เช่น a[ 0 ]=10;
- เครื่องหมาย ; ใช้เพื่อปิดประโยค
เช่น String a ;
- เครื่องหมาย , ใช้สำหรับ
1. แยกชื่อตัวแปรในประโยค
เช่น String a , b , c;
- เครื่อง หมาย . ใช้สำหรับ
1. แยกชื่อ package,subpackage และชื่อ class
เช่น package com.test.Test1;
2. ใช้เพื่อเรียกใช้ ตัวแปร หรือ method ของ Object
เช่น object.hello();


public class ชื่อคลาส
{
      public static void main(String[] agrs)
     {
          ประโยคคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม;
          ..................................................;
     }
}

ตัวอย่างโปรแกรมภาษาจาวา
ไฟล์ Example.java
class Example
{
     public static void main(String[] args)
    {
          String dataname = “Java Language“;
          System.out.println(“My name is OAK“);
          System.out.println(“OAK is a “ + dataname +“. “);
     }
}
6.โครงสร้างโปรแกรมภาษา Cobol
ภาษาโคบอล (COBOL programming language) เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูงภาษาหนึ่งที่อยู่มาอย่างยาวนาน COBOL ย่อมาจาก Common Business Oriented Language เป็นภาษาที่นิยมนำไปใช้ทางธุรกิจ ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1959 โดยนักคอมพิวเตอร์กลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า Conference on Data Systems Languages (CODASYL) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ภาษาโคบอลมีการแก้ไขและปรับปรุงอยู่ตลอด ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาความแตกต่างของตัวภาษาโคบอลในแต่ละเวอร์ชัน สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (ANSI) จึงได้พัฒนามาตรฐานกลางขึ้นมาในปี ค.ศ. 1968 เป็นที่รู้จักกันในนามของ ANS COBOL ต่อมาเมื่อ ปี ค.ศ. 1974 ทาง ANSI ได้นำเสนอ ANS COBOL รุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่ารุ่น 1968 และในปี ค.ศ. 1985 ANSI ก็นำเสนออีกรุ่นหนึ่งที่มีคุณสมบัติมากกว่ารุ่นปี 1974 รูปแบบภาษาโคบอลแบ่งออกเป็น 4 ดิวิชั่น คือ Identification division การกำหนดชื่อโปรแกรมและชื่อผู้เขียน Environment division การอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Data division การอธิบายเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล Procedure division การอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการประมวลผล

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ใบงานที่9


ใบงานที่ 9
โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

1.การขัดจังหวะ หรือการอินเตอร์รัปต์ หมายถึงอะไร จงอธิบาย

2.จงเปรียบเทียบการอินเตอร์รัปต์ กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไป ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
     =การติดต่อเพื่อรับส่งข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวัน มนุษย์จะติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ติดต่อกันเพื่อทำการค้าขาย พูดคุยกัน อย่างนี้เป็นต้น

3.สาเหตุที่การป้องกันฮาร์ดแวร์ มีบทบาทสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่รองรับหลายๆ งาน อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร จงอธิบาย
=เพื่อป้องกันการเรียกใช้อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลแบบผิด ๆ หรืออ้างอิงตำแหน่งในหน่วยความจำที่อยู่ในส่วนของระบบปฏิบัติการ หรือไม่คืน การควบคุมซีพียูให้ระบบซึ่งมีการกำหนดว่าคำสั่งเรียกใช้อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลเป็นคำสั่งสงวน (Privileged Instruction) ผู้ใช้ไม่สามารถเรียกใช้อุปกรณ์เองได้ ต้องให้ระบบปฏิบัติการเป็นผู้จัดการให้

4.จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโหมดการทำงานของผู้ใช้ กับโหมดการทำงานของระบบมาให้พอเข้าใจ
=ผู้ใช้ก็จะทำงานเหมือนกับคอมพิวเตอร์ เราจะรับข้อมูลจาก ตา หู จมูก ปาก แล้วก็สมองจะทำการประมวลผลสิ่งที่เราดู ได้ยิน ได้กลิ่น หรือรับรส แล้วก็จะแสดงจากทางอาการหรือคำพูด ก็เหมือนคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลจากเมาส์ คีย์บอร์ด แล้ว CPU ก็ทำการประมวลผล จากนั้นก็แสดงผลในรูปของเสียงหรือภาพ

5.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันอินพุต และเอาท์พุตอย่างไร จงอธิบาย
     =กลไกในการอ้างอิงหน่วยความจำหลัก ป้องกันกระบวนการให้ใช้หน่วยความจำหลักได้แต่ในส่วนของกระบวนการนั้นเท่านั้น เช่น การไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ระบบทำการรับส่งข้อมูลเองโดยตรง เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการใช้งานของอุปกรณ์รับส่งข้อมูล

6.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันหน่วยความจำอย่างไร จงอธิบาย
     =กลไกในการอ้างอิงหน่วยความจำหลัก ป้องกันกระบวนการให้ใช้หน่วยความจำหลักได้แต่ในส่วนของกระบวนการนั้นเท่านั้น

7.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันซีพียูอย่างไร จงอธิบาย
=ระบบต้องมีการป้องกัน ความผิดพลาดที่เกิดจากกระบวนการหนึ่งไปกระทบอีกกระบวนการหนึ่ง โดยสร้างกลไกบางอย่างเพื่อป้องกันแฟ้มข้อมูล, หน่วยความจำส่วนหนึ่งหรือหน่วยประมวลผลกลาง




8.โครงสร้างของระบบปฏิบัติการประกอบด้วยกี่ส่วน อะไรบ้าง
=ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เคอร์เนล (Kernel) หมายถึง ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ถูกเรียกมาใช้งาน และจะฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำหลักของระบบ ดังนั้นเคอร์เนลจึงต้องมีขนาดเล็ก โดยเคอร์เนลจะมีหน้าที่ในการติดต่อ และควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมใช้งาน (Application Programs)
2.โปรแกรมระบบ (System Programs) คือ ส่วนของโปรแกรมการทำงานของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ และผู้จัดการระบบ เช่น Administrator

9.ในการจัดการกับโปรเซส ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=การจัดการงานที่เราจะทำการประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบการแบ่งเวลา หรืออื่นๆ โดยแต่ละโปรเซสจะมีการกำหนดการใช้ทรัพยากรที่แน่นอน

10.ในการจัดการกับหน่วยความจำ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=การจัดการหน่วยความจำจัดเป็นหน้าที่หนึ่งของระบบปฏิบัติการ หน่วยความจำนี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย  กล่าวคือถ้าหากคอมพิวเตอร์มีความจำมาก  นั้นหมายถึงขีดความสามารถในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นโปรแกรมที่มีสลับซับซ้อนและมีสมรรถนะสูง มักจะเป็นโปรแกรมที่ต้องการหน่วยความจำสูง แต่ก็เป็นที่ทราบแล้วว่าหน่วยความจำมีราคาแพง ดังนั้นระบบปฏิบัติการที่ดีจะต้องมีการจัดการหน่วยความจำที่มีอยู่จำกัด ให้สามารถรองรับงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำจำนวนมากได้

11.ในการจัดการกับแฟ้มข้อมูล ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=เป็นการทำงานของระบบปฏิบัติการโดยทำหน้าที่ในการโอนถ่ายข้อมูลลงไปจัดเก็บในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล

12.ในการจัดการกับอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ในการรับข้อมูล และแสดงข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ต่างๆ โดยข้อมูลที่ส่งไปยังอุปกรณ์เหล่านี้ จะผ่านสายส่งข้อมูล

13.ในการจัดการกับหน่วยความจำสำรอง เช่น ดิสก์ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่โอนถ่ายข้อมูลไปจัดเก็บในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล

14.จงสรุปงานบริการของระบบปฏิบัติการมาพอเข้าใจ
=ระบบปฏิบัติการจะเป็นเหมือนตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้งาน จะรับข้อมูลทางเมาส์หรือคีย์บอร์ด จากนั้นจะส่งไปยัง CPU เพื่อให้ประมวลผลออกมา แสดงผลจะอยู่ในรูปของเสียงหรือภาพ

15.ในการติดต่อระหว่างโปรเซสกับระบบปฏิบัติการ จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มงานใดบ้าง จงอธิบาย
=สถานะของโปรเซส (Process Status)ก็จะมี  สถานะเริ่มต้น (New Status) ,สถานะพร้อม (Ready Status) ,สถานะรัน (Running Status),สถานะรอ (Wait Status),สถานะบล็อก (Block Status)และสถานะสิ้นสุด (Terminate Status)

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การนำเสนอปัญาหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

วิธีกำจัดไวรัส AdobeR.exe Win32/RJump.A
อาการเมื่อติดไวรัส
-เวลาที่เสียบแฮนดี้ไดว์ฟจะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่าจะเปิดด้วยโปรแกรมใด(ให้เลือกยกเลิกไปก่อน)
-ปคลิกขวาตรง แฮนดี้ไดว์ฟหากข้อความข้างบนสุดขึ้นว่า Auto หรือAutorunหรือO(open) แสดงว่าติดไวรัสแล้ว
วิธีกำจัด
- ดาวโหลดโปรแกรม AVG ฆ่าไฟล์ไวรัสตัวนี้ คลิกดาวโหลด
-หรือหากจะแก้ไขด้วยตนเองก็ทำได้
-ไปที่ My computer -->Tools --> Folder options -->View -->
-หัวข้อ Hiden files and folder ใต้นั้นให้ติ๊กเลือก Show hiden file and folder แล้วติ๊กถูกสองบรรทัดล่างออกด้วย แล้วOK
- ก็จะเห็นไฟล์ไวรัสอยู่มันจะจางๆ ลบไฟล์ Autorun.inf Adober.exe msvcr71.dll ravmonlog -หากลบไม่ได้หรือลบไปแล้วมันสร้างขึ้นมาใหม่แสดงว่าไวรัสได้ทำงานอยู่ (เพราะเราเผลอไปคลิกมันไปก่อนหน้านี้แล้ว)
- ให้กด Ctrl+Alt+Delete โปรแกรม Task Manager จะขึ้นมา
-หลังจากนั้นให้เลือกใน แถบ Processes หาโปรแกรมที่ชื่อว่า AdobeR.exe หลังจากนั้นให้กด End Task แล้วกดOKได้เลย
-แล้วก็ไปลบไฟล์ AdobeR.exe ใน C:\WINDOWS\ แล้วก็ไปลบคำสั่งในรีจิสทรี้
- โดย คลิก
Start คลิก Run พิมพ์ regedit จะเข้าไปที่
HKEY_LOCAL_MACHINE/Software/Microsoft/Windows/CurrentVersion/Run
แล้วมองขวามือลบ DWORD ชื่อว่า RAVD ออก
-เสร็จแล้ว รีสตาร์ทเครื่องใหม่





อาการที่ 1 เครื่องบู๊ตไม่ขึ้น
เครื่องเจอปัญหาหนักถึงกับบู๊ตไม่ขึ้น Windows ไม่สามารถแสดงขึ้นมา หรือไม่สามารถใช้งานได้ ค้างอยู่ที่หน้าจอสีดำ หรืออยู่ที่หน้าจอโหลดโลโก้ของ Windows
อาการที่ 2 เครื่องแฮงค์บ่อย
เปิดเครื่องมาใช้งานได้ไม่นาน อยู่ดีๆ ก็เกิดการค้างไปซะงั้น เป็นประจำ ไม่สามารถทำงาน ปัญหาเครื่องแฮงค์บ่อยๆ อาจส่งผลให้ฮาร์ดิสก์พังตามไปด้วยก็เป็นได้ (ต้องกด Reset ตลอด)ปัญหานี้จะต้องตรวจดูก่อนว่า อาการแฮงค์เกิดมาจากอะไร เช่น ในขณะที่เปิดโปรแกรมอะไรอยู่
อาการที่ 3 เครื่องช้ามากๆ ทำอะไรไม่ทันใจเลย
เครื่องทำงานช้า ไม่ทันใจเหมือนตอนที่ซื้อมาใหม่ (ของใหม่ย่อมต้องดีกว่า) เช่น บู๊ตเข้าระบบช้ามาก เปิดโปรแกรมก็ต้องรอนาน การบันทึกงานก็รอแล้วรออีก
อาการที่ 4 ติดไวรัส แก้ก็ไม่หาย
ปัญหาไวรัสดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติไปแล้ว เครื่องไหนไม่มีไวรัสสิแปลก ไวรัสมีหลายประเภท และส่งผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป เช่น แสดงข้อความแปลกๆ จนถึงทำให้ Windows รวน ทำลายข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง หากยังโดนเล่นงานต่อไป อุปกรณ์ต่างๆ ก็จะทำงานหนักขึ้น อายุการใช้งานก็จะลดลงตามไปด้วย
อาการที่ 5 เครื่องมีปัญหาจุกจิก แก้ยังไงก็ไม่หาย อาการที่พบได้บ่อย เช่น
-ฟอนต์เมนูแสดงผิดไปจากปกติ
-ตั้งค่าต่างๆ ของ Control Panel ไม่ได้
-เปิดโปรแกรมหลายตัว หรือดูหนัง ฟังเพลง แล้วเครื่องค้าง
-Copy หรือย้ายไฟล์เอกสารไม่ได้ คำสัง Copy, Paste หายไป
-ไฟแสดงสถานะฮาร์ดดิสก์กระพริบตลอดเวลา ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรเลย

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คูณสมบัติความจำในระบบโครงสร้างคอมพิวเตอร์


Cache คืออะไร
     Cache คือหน่วยความจำอย่างนึง มีความเร็วในการเข้าถึงและการถ่ายโอนข้อมูลที่สูง ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลที่เราต้องการจะใช้งานบ่อยๆ เพื่อเวลาที่ CPU ต้องการใช้ข้อมูลนั้นๆ จะได้ค้นหาได้เร็ว โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปค้นหาจากข้อมูลทั้งหมด
ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
Cache มี 2 แบบคือ
1.disk cache คือการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลักของเราก่อน เมื่อ CPU ต้องการจะหาข้อมูล ก็จะหาใน dish cache ก่อนแล้วค่อยเข้าไปค้นหาใน Harddisk
2.Memory cache จะดึงข้อมูลมาเก็บไว้ใน memory ซึ่งจะถึงขอ้มูลได้รวดเร็วกว่า แต่มีความจำที่เล็กกว่า 
     เพราะฉะนั้นถ้า คอมพิวเตอร์เครื่องใดที่มี cache ความเร็วสูงก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามยิ่งขนาดใหญ่ก็เก็บข้อมูลได้เยอะ แต่การเข้าถึงจะช้ากว่า cache ที่มีขนาดเล็ก   ระบบ Cache นอกจาก ใน computer แล้ว ระบบ Cache ยังเอามาใช้งานบนเว็บ ด้วย CMSส่วนใหญ่จะมีระบบ Cache เพื่อลดภาระการทำงานของฐานข้อมูลลง
น่วยคจำแบ
หน่วยความจำแบบไดนามิกแรม   
      เป็นแรมที่มีโครงสร้างแตกต่างจากสแตติกแรม ทำให้สามารถมีความจุสูงกว่าสแตติกแรม 4 เท่า ทำให้กินกำลังไฟฟ้าในการทำงานน้อยกว่าสแตติกแรมอยู่ในเกณฑ์ 1/4 ถึง 1/6 เท่าของสแตติกแรม ซึ่งเมื่อเทียบราคาต่อบิตแล้วราคาจะสูง สแตติกแรมจึงถูกนำมาใช้ในหน่วยความจำขนาดเล็ก เช่น ระบบไมโครโปรเซสเซอร์ เป็นต้น การควบคุมกระบวนการทำงานของไดนามิกแรม ต้องมีวงจรรีเฟรชหน่วยความจำ
        โครงสร้างทั่วไปของไดนามิกแรมแสดงในรูปที่ 12.13 เป็นไดนามิกแรมขนาด 16k x 1 (16,384 Cell = 2   ) มีขนาดอาร์เรย์ของเซลล์เป็นแมทริกซ์ขนาด 128 x 128 อาร์เรย์ แต่ละเซลล์จะบอกตำแหน่งของแอดเดรสโดยตัวถอดรหัสแถว และตัวถอดรหัสคอลัมน์ขนาด 1 - to - 128 ดังนั้นแอดเดรสอินพุตของตัวถอดรหัสแถวจะมีขนาด 7 เส้น (A   - A  ) และ ตัวถอดรหัสคอลัมน์จะมีแอดเดรส 7 เส้นเช่นกัน (A    - A  ) รวมทั้งสิ้นมีแอดเดรสขนาด 14 บิต


หน่วยความจำแบบสแตติกแรม
หน่วยความจำแบบสแตติกแรม

        เป็นแรมที่มีฟลิบฟลอบเป็นตัวเก็บข้อมูลภายในแต่ละบิต ดังนั้นข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในสแตติกแรมจะไม่สญหายไปจนกระทั่งสแตติกแรมไม่ได้รับแรงดันไบอัสฟลิปฟลอปภายในสแตติกแรมมี 2 แบบ คือ แบบที่ใช้ไบโพล่าร์ทรานซิสเตอร์ และแบบที่ใช้มอสทรานซิสเตอร์ ซึ่งชนิดที่เป็นมอสทรานซิสเตอร์จะกินกำลังไฟฟ้าน้อยกว่าชนิดไบโพล่าร์ทรานซิสเตอร์

การทำงานของสแตติกแรม
        สแตติกแรมส่วนมากใช้ต่อภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ และต่อใช้งานโดยการควบคุมของซีพียู ในการอ่านหรือเขียนข้อมูลภายในสแตติกแรมจะใช้ความเร็วสูงมากซึ่งเท่ากับความเร็วซีพียู ดังนั้นการนำสแตติกแรมและชิปที่ใช้ควบคุมไปใช้ร่วมกับซีพียูใดๆ จะต้องศึกษาคู่มือของแรมให้ละเอียด เวลาการทำงานของสแตติกแรมแบ่งเป็นรอบการอ่านข้อมูลและรอบการเขียนข้อมูล